พระผงล้อพิมพ์วัดสามปลื้ม หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ-wison - webpra
VIP
สมัครเล่นครับ เรียนรู้จากของแท้เท่านั้น

หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระผงล้อพิมพ์วัดสามปลื้ม หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ

พระผงล้อพิมพ์วัดสามปลื้ม หลวงพ่อสงวน  วัดไผ่พันมือ - 1พระผงล้อพิมพ์วัดสามปลื้ม หลวงพ่อสงวน  วัดไผ่พันมือ - 2พระผงล้อพิมพ์วัดสามปลื้ม หลวงพ่อสงวน  วัดไผ่พันมือ - 3
ชื่อร้านค้า wison - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระผงล้อพิมพ์วัดสามปลื้ม หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
ราคาเช่า 4,500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0819460502
อีเมล์ติดต่อ wison41505@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 17 พ.ค. 2564 - 20:19.57
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 17 พ.ค. 2564 - 20:34.01
รายละเอียด
พระผงล้อพิมพ์วัดสามปลื้ม หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ

หลวงพ่อสงวนเป็นพระเกจิอีกรูปหนึ่ง ที่เคยเงียบจนไม่มีคนสนใจ ให้ฟรีก็ไม่มีใครเอา สมัยท่านยังอยู่หรือแม้แต่หลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว ก็ยังไม่มีคนสนใจ หลวงพ่อท่านเชี่ยวชาญในการเสกผงฯ เสกได้ขลังจนมีชื่อเสียงโด่งดัง แม้แต่การเสกน้ำมนต์ท่านยังใช้ผงฯใส่ลงในโอ่ง เสกเหรียญท่านก็แช่เหรียญลงในโอ่งน้ำมนต์
ชาตะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐
มรณะภาพ เมื่อวันที่ ๑๔ ก.พ. ๒๕๓๖
หลวงพ่อเป็นคนสุพรรณบุรีโดยกำเนิด เกิดที่อำเภอบางปลาม้า ตั้งแต่เป็นเด็กท่านมีนิสัยนักเลง เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ไม่ยอมคน ไม่กลัวใคร เข้าสู่วัยรุ่นได้คบหากับเพื่อนที่มีนิสัยคล้ายกันจนได้มารู้จักสนิมสนมกับเสือในสมัยก่อน อาทิ เสือมเหศวร เสือดำ เป็นต้น แต่ท่านมีอายุน้อยกว่าจึงคบหากันเป็นลูกพี่ลูกน้องกันจนภายหลังท่านได้มาบวชเรียนครองผ้าเหลืองเสือมเหศวรยังคงได้ไปมาหาสู่กับท่าน ตลอดจนช่วยท่านสร้างวัดไผ่พันมือ จนกระทั่งท่านมรณภาพลงเสือมเหศวรก็ยังมาเป็นประธานในงานฌาปนกิจของท่าน

เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๐ กว่าๆทางการเร่งปราบปราม บรรดาเสือและสมัครพรรคพวก โยมบิดา มารดา เกรงจะถูกทางราชการเพ่งเล็งว่าเป็นสมัครพรรคพวกของเสือในจังหวัดสุพรรณบุรี โยมบิดา มารดาจึงขอให้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดองค์รักษ์ ซึ่งมีหลวงพ่ออรรถ เป็นเจ้าอาวาส และได้รับทราบวิชาการสร้างลูกอมมาจากหลวงพ่ออรรถนี่เอง ลูกอมหลวงพ่ออรรถเป็นเนื้อเทียนชัย มีพระพุทธคุณทางด้านแคล้วคลาดป้อง กันสัตว์ร้ายเขี้ยวงา แม้กระทั่งฟ้าผ่า เป็นที่เลื่องลือและนิยมแสวงหาของคนในพื้นที่

จนเมื่ออายุครบบวช หลวงพ่อได้อุปสมบทที่วัดสังโฆษิตาราม เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๘๐ มีหลวงพ่อครื้น อมโร เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งต่อมาภายหลังหลวงพ่อสงวนท่านได้เล่าเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับอาจารย์ของท่าน ท่านนี้ให้ศิษย์ของท่านฟังมากมาย มักเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์พิเศษที่ท่านเคยเห็นมากับตา อาทิ การเดินผ่านทะลุฝาผนังกุฏิ การเรียกหรือห้ามลม ฝน การปลุกเสกพระเครื่องรางฯ ฯลฯ

หลังจากบวชเป็นพระแล้วท่านได้เล่าเรียนธรรมะศึกษา พระปริยัติธรรมได้นักธรรมตรี-โท-เอก และอักขระเลขยันต์คาถาอาคม การเขียนผงลบผงอิทธิเจจากพระอุปัชฌาย์จนเชี่ยวชาญพร้อมๆกันนั้น ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อครื้น ด้วยหลังจากอุปสมบท ได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดองครักษ์ อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี ราว ๔-๕ พรรษา ชาวบ้านเลื่อมใสในปฏิปทาต้องการให้ท่านเป็นเจ้าอาวาส แต่ท่านไม่รับตำแหน่ง หวังจะศึกษาวิชาคาถาอาคมที่ได้ร่ำเรียนมา จึงได้ย้ายไปอยู่ที่วัดบ้านกร่าง ในราวปี พ.ศ.๒๔๙๐ จนในที่สุดได้ลาสิขาบท เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ที่วัดบ้านกร่าง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๐ กว่าๆทางการเร่งปราบปราม บรรดาเสือและสมัครพรรคพวก โยมบิดา มารดา เกรงจะถูกทางราชการเพ่งเล็งว่าเป็นสมัครพรรคพวกของเสือในจังหวัดสุพรรณบุรี โยมบิดา มารดาจึงขอให้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดองค์รักษ์ ซึ่งมีหลวงพ่ออรรถ เป็นเจ้าอาวาส และได้รับทราบวิชาการสร้างลูกอมมาจากหลวงพ่ออรรถนี่เอง ลูกอมหลวงพ่ออรรถเป็นเนื้อเทียนชัย มีพระพุทธคุณทางด้านแคล้วคลาดป้อง กันสัตว์ร้ายเขี้ยวงา แม้กระทั่งฟ้าผ่า เป็นที่เลื่องลือและนิยมแสวงหาของคนในพื้นที่

จนเมื่ออายุครบบวช หลวงพ่อได้อุปสมบทที่วัดสังโฆษิตาราม เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๘๐ มีหลวงพ่อครื้น อมโร เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งต่อมาภายหลังหลวงพ่อสงวนท่านได้เล่าเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับอาจารย์ของท่าน ท่านนี้ให้ศิษย์ของท่านฟังมากมาย มักเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์พิเศษที่ท่านเคยเห็นมากับตา อาทิ การเดินผ่านทะลุฝาผนังกุฏิ การเรียกหรือห้ามลม ฝน การปลุกเสกพระเครื่องรางฯ ฯลฯ

หลังจากบวชเป็นพระแล้วท่านได้เล่าเรียนธรรมะศึกษา พระปริยัติธรรมได้นักธรรมตรี-โท-เอก และอักขระเลขยันต์คาถาอาคม การเขียนผงลบผงอิทธิเจจากพระอุปัชฌาย์จนเชี่ยวชาญพร้อมๆกันนั้น ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อครื้น ด้วยหลังจากอุปสมบท ได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดองครักษ์ อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี ราว ๔-๕ พรรษา ชาวบ้านเลื่อมใสในปฏิปทาต้องการให้ท่านเป็นเจ้าอาวาส แต่ท่านไม่รับตำแหน่ง หวังจะศึกษาวิชาคาถาอาคมที่ได้ร่ำเรียนมา จึงได้ย้ายไปอยู่ที่วัดบ้านกร่าง ในราวปี พ.ศ.๒๔๙๐ จนในที่สุดได้ลาสิขาบท เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ที่วัดบ้านกร่าง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

จากนั้นจึงได้พบหญิงคนรัก มีครอบครัว บุตรและธิดา รวม ๒ คน ระหว่างที่ท่านได้ครองเรือนอยู่นั้น ท่านก็ยังใฝ่ในพระธรรม คงมาถือศีลปฏิบัติธรรมอยูที่วัดห้วยสุวรรณก่อนที่ท่านจะเข้าอุปสมบทอีกครั้งในราวปี พ.ศ. ๒๕๐๕ บวชครั้งนี้ท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งแฝก จำพรรษาที่วัดทุ่งแฝก ประมาณ ๖ - ๗ พรรษา ในช่วงนี้ท่านมีญาติโยมไปมาหาสู่ มาขอพึงบารมีท่านเป็นจำนวนมาก ท่านจึงเริ่มสร้างพระและเครื่องรางในราวปี พ.ศ.๒๕๑๐ ส่วนใหญ่จะเป็นลูกอมเนื้อผงอิทธิเจ แจกแก่ญาติโยม เป็นครั้งแรก แต่ส่วนมากจะแจกให้แก่เด็กๆ เพราะในสมัยนั้นชาวบ้านไม่ชอบลูกอมกัน เพราะยังไม่รู้จัก และยังไม่เห็นประสบการณ์

หลังจากที่เด็กๆแขวนลูกอมของท่านถูกหมากัดแต่ไม่เข้า จึงมีชาวบ้านที่รู้ข่าว เห็นประสบการณ์มาขอลูกอมท่านกันมากขึ้นๆ จนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเช่นปัจจุบัน

ราวปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งแฝกได้ระยะหนึ่งเกิดขัดแย้งกันภายในวัด ท่านจึงได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดไผ่พันมือ หมู่ที่ ๖ ตำบลดอนปรู อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งขณะนั้น เป็นวัดร้าง ท่านก็เริ่มสร้างกุฏิไม้หลังเล็กๆขึ้นและจำพรรษาอยู่เพียงรูปเดียว ออกบิณฑบาตทุกวันต้องเดินเท้าระยะทางไกลประมาณ ๕-๖ ก.ม. ต้องตื่นแต่เช้าตรู่ จึงจะทันชาวบ้านตักบาตร

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้ พระเกจิอยุธยา http://baanjompra.com/

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top